วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

พระกริ่ง ฉลองครบรอบ 52ปี ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสังวโร 5 มกราคม ปี 2558

เมื่อปีใหม่มีโอกาส ได้ไปไหว้ ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสังวโร ครบรอบ 52 ปี 5 มกราคม 2558 ครูบา ที่เมืองพงษ์ รัฐฉาน พม่า ซึ่งเป็นที่นับถือทั้งชาวไทย ชาวพม่า ชาวไทยลื้อ และชาวลาว เป็นอย่างมาก... มีการทำพระกริ่งเศรษฐี อุดกริ่ง และ พระชัยวัฒน์เศรษฐีอุดกริ่ง เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์ ที่มาทำบุญ ฟังธรรม....

..โดย คุณอรอุมา ดวงสถิต (คุณเซียน) และลูกศิษย์..เป็นผู้สร้าง...

จำนวนพระที่สร้าง
พระกริ่งเศรษฐี อุดกริ่ง เนื้อเงิน ยิงเลเซอร์ กรรมการ เลข1 -10 จำนวน 10 องค์ (สำหรับเนื้อเงิน ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ทำการสวดปลุกเสกทีละองค์ )
พระชัยวัฒน์เศรษฐี อุดกริ่ง เนื้อเงิน องค์เล็ก จำนวน 10 องค์
พระกริ่งเศรษฐี เนื้อกะหลั่ยทอง จำนวน 1,000 องค์
พระชัยวัฒน์เศรษฐี อุดกริ่ง เนื้อกะหลั่ยทอง องค์เล็ก จำนวน 1,000 องค์

พระที่แจกเนื้อกะหลั่ยทอง..ทั้งหมดส่วนมากคนชาวพม่าจะได้ไปครอบครองเป็นส่วนใหญ่...และคนไทยบางส่วนไม่มากนัก......



(ด้านหน้า) พระกริ่งเศรษฐี อุดกริ่ง เนื้อเงิน ยิงเลเซอร์ กรรมการ เลข10

(ด้านหลัง) พระกริ่งเศรษฐี อุดกริ่ง เนื้อเงิน ยิงเลเซอร์ กรรมการ เลข10

(ด้านล่าง) พระกริ่งเศรษฐี อุดกริ่ง เนื้อเงิน ตอก ๕ ม.ค.๕๘



พระกริ่งเศรษฐี เนื้อกะหลั่ยทอง

************************************************* 

พระชัยวัฒน์เศรษฐี อุดกริ่ง เนื้อเงิน องค์เล็ก
 
(ด้านหลัง) พระชัยวัฒน์เศรษฐี อุดกริ่ง เนื้อเงิน องค์เล็ก

พระชัยวัฒน์เศรษฐี อุดกริ่ง เนื้อเงิน องค์เล็ก








วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

พระสมเด็จกรุวัดสะตือ บรรจุในองค์พระพุทธไสยาสน์


 พระสมเด็จกรุวัดสะตือเป็นพระที่บรรจุในองค์พระพุทธไสยาสน์ และพระเจดีย์ ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2414 ก่อนที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต จะมรณภาพ 1 ปี สร้างเพื่อระลึกถึงโยมมารดาของท่านเอง

โดยได้มาทำการก่อสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางพุทธไสยาสน์ ณ หมู่บ้านที่ถือกำเนิดที่วัดท่างาม ปัจจุบันคือ วัดสะตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งพระนอนใหญ่มีขนาด ยาว 52 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 16 เมตร องค์พระโปร่ง(ซึ่งใช้เป็นที่บรรจุพระไว้ภายใน)

พระสมเด็จกรุวัดสะตือถูกค้นพบเมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาปิดทองพระนอนวัดสะตือซึ่งเวลานั้นพระนอนอยู่ในสภาพทรุดโทรมมากจึงบัญชาการให้กรมโยธาเทศบาลได้จัดการปฏิสังขรณ์พระนอนใหม่เมื่อ พ.ศ. 2499 จึงได้พบพระสมเด็จพิมพ์ต่างๆ บรรจุอยู่

แต่ด้วยในสมัยนั้นพระสมเด็จวัดระฆังยังไม่ได้เป็นที่นิยมโดยทั่วไปเยี่ยงในปัจจุบันนี้ จึงไม่ได้เป็นข่าวใหญ่โต และไม่ได้มีผู้สนใจอยากได้พระสมเด็จที่ถูกพบดังกล่าว พระสมเด็จที่ถูกค้นพบในขณะนั้นจึงได้มีการแจกจ่ายเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบูรณะในขณะนั้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้นเท่านั้น และต่อมาพระชุดนี้ที่ก็ได้ตกทอดสู่ทายาท และมีการนำมาเปิดเผยในเวลาต่อมา พระกรุนี้ได้ถูกนำออกจากกรุเป็นจำนวนมากเมื่อผ่านมาไม่กี่ปีนี้เอง ราวพ.ศ. ๒๕๔๙ เมื่อมีการบูรณะองค์พระเจดีย์ที่อยู่ภายในวัด ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของพระพุทธไสยาสน์ริมแม่น้ำป่าสัก และปีพ.ศ. ๒๕๕๒ เมื่อมีการบูรณะองค์พระพุทธไสยาสน์อีกครั้ง

: ขอขอบคุณ พระ กิตติปัญโญ วังก้านเหลือง สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ มา ณ.ที่นี้ด้วยครับ





สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ขอบล่างฟันหนู